วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

เพื่อนใจสมัยเรียน

Niyakorn Keawlamol

calendar

ดรีมเวิลด์/ Dream World

             ดรีมเวิล์ด ตั้งอยู่บริเวณ กม.ที่ ๗ ถนนรังสิต-องครักษ์ อ.ธัญบุรี เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งก่อสร้างจำลองดินแดน เทพนิยายและเครื่องเล่น ต่างๆ หลายชนิด เปิดให้เข้าชมทุกวัน วันธรรมดาเวลา ๙.๓๐-๑๗.๐๐ น. วันหยุดเวลา ๙.๓๐-๑๙.๐๐ น. ค่าผ่านประตูบัตรรวมเครื่องเล่น รวมค่ผ่านประตูด้วยและเล่นเครื่องเล่นทุกอย่างได้อย่างละ 1 รอบเท่านั้น(ยกเว้นเรือบั้ม โกคราส จักรยานนํ้า) บัตรวีซ่า คุณสามารถเล่นเครื่องเล่นได้ทุกอย่างเลยและกี่รอบก็ได้ (ยกเว้น ปราสาทผีสิงเล่นได้เพียงรอบเดียวและที่ยกเว้นอีกอย่างคือ              โกคราส จักรยานนํ้า) 
การเดินทางไปดรีมเวิลด์
1. เส้นทางถนนวิภาวดีรังสิต จากดินแดง ใช้ถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านสุทธิสาร ลาดพร้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสี่ สนามบินดอนเมือง เมื่อผ่านอนุสรณ์สถาน(ด้านขวามือ) สังเกตเห็นห้างสรรพสินค้าแมคโครรังสิต ให้ใช้เส้นทางคู่ขนานและทางต่างระดับ ไปนครนายก ผ่านฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ตรงไปอีก 7 ก.ม. (คลอง 3) ก็ถึงดรีมเวิลด์  ต้องการให้เร็วขึ้น ใช้ทางด่วนโทลล์เวย์ ออกทางออกอนุสรณ์สถาน (ถัดจากทางออก ท่าอากาศยานผู้โดยสารขาออกต่างประเทศ) เห็นห้างสรรพสินค้าแมคโครรังสิต ให้ใช้เส้นทางคู่ขนานและทางต่างระดับไปนครนายก ผ่านฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ตรงไปอีก 7 ก.ม. (คลอง 3) ก็ถึงดรีมเวิลด์ (โดยก่อนถึงสวนสนุกดรีมเวิลด์จะเห็นปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ ให้เตรียมชิดขวาเพื่อกลับรถบริเวณหน้าวัดเขียนเขต จากนั้นขับรถเข้าซ้ายมือของถนนอีกประมาณ 500 เมตร) 


2. ถนนวงแหวนตะวันออก มาจาก รามอินทรา สุขาภิบาล สมุทรปราการ ขับสบายๆ ใช้ถนนวงแหวนตะวันออก ผ่านด่านเก็บเงินถัดจากทางออกลำลูกกา ใช้ทางออกรังสิต ขับตรงไปอีกนิด ดรีมเวิลด์อยู่ด้านซ้ายมือหรือถ้ามาจากบางปะอิน ใช้ถนนวงแหวนตะวันออกขับตรงมา ใช้เส้นทางออกไปธัญบุรี ขับตรงไปกลับรถย้อนกลับมาทางที่จะเข้ารังสิต ขับตรงไปอีกนิดดรีมเวิลด์อยู่ทางด้านซ้ายมือ


3. ทางด่วนขั้นที่ 2 (ทางด่วนแจ้งวัฒนะ) ใช้ทางด่วนขั้นที่ 2 (ทางด่วนแจ้งวัฒนะ) ให้ใช้ทางออกบางพูน - รังสิต ขับตรงมาทางรังสิต ขึ้นสะพานยกระดับผ่านหน้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ให้ใช้เส้นทางไปนครนายกเข้าสู่ถนนรังสิต-นครนายก อีก 7 กม. ก็ถึงดรีมเวิลด์(โดยก่อนถึงสวนสนุกดรีมเวิลด์จะมีปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ ให้เตรียมชิดขวาเพื่อกลับรถ บริเวณหน้าวัดเขียนเขต จากนั้นขับรถเข้าซ้ายมือของถนนอีกประมาณ 500 เมตร) 

4. เส้นทางลัด วัชรพล - ลำลูกกา เดินทางมาจากมีนบุรี บางกะปิ ใช้เส้นทางถนนรามอินทรา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเลียบทางด่วน และกลับรถวิ่งขึ้นสะพาน ข้ามแยก เข้าซอยวัชรพล ถ้ามาจากบางเขน เมื่อถึงถนนรามอินทรา กม.5 เลี้ยวซ้ายเข้าซอยวัชรพลได้เลย และถ้ามาจากถนนเลียบทางด่วน ตรงมาขึ้นสะพานข้ามแยกเข้าซอยวัชรพล จากปากทางซอยวัชรพล ขับรถตรงมาเลี้ยวขวา ผ่านด้านหน้าฟู้ดไลอ้อน ขับตรงไปถึงทางแยกเลี้ยวซ้าย ตรงไปถึงห้าแยกวัชรพล เลี้ยวขวาเข้าแยกที่ 2 (นับจากด้านขวามือ) เข้าถนนสุขาภิบาล 5(ออเงิน) ขับตรงไปตามทางจนสุดถนน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร ขับถึงป้อมไฟแดงเลี้ยวขวา ที่สี่แยกตลาดวงศกร เข้าสู่ถนนสายไหม - ลำลูกกา ขับตรงไปถึงสามแยกลำลูกกาเลี้ยวซ้าย ตรงไปกลับรถที่ยูเทิร์นแรก ขับย้อนกลับมาชิดด้านซ้ายถนนไว้ เมื่อผ่านป้ายรถประจำทาง เห็นร้าน 7 - elevenหน้าปากทางแยก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไสวประชาราษฎร์ (คลองสี่ - ธัญบุรี) ขับไปตามทางเรื่อย ๆ จนถึงสามแยกถนนรังสิต-นครนายก เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กม. ก็ถึงดรีมเวิลด์

รถประจำทาง
ปอ. 538 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ดอนเมือง-ราชมงคลคลอง 6)
ปอ. 523 (หมอชิตใหม่-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-ราชมงคลคลอง 6)

แผนที่การเดินทางไปดรีมเวิลดิ์



                

ทะเลหมอกบนเขาค้อ




เขาค้อ เป็นชื่อเรียกรวมทิวเขาน้อยใหญ่ของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในเขตอำเภอเขาค้อ เหตุที่เรียกกันว่า เขาค้อ เป็นเพราะป่าบริเวณนี้มีต้นค้อขึ้นอยู่มาก เนื่องจากภูมิอากาศบนเขาค้อเย็นตลอดปี ค่อนข้างเย็นจัดในฤดูหนาวและมีทัศนียภาพสวยงาม จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์
เขาค้อประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย ยอดเขาค้อ มีความสูงประมาณ 1,174 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เขาย่าสูง 1,290 เมตรและเขาใหญ่ สูง 865 เมตร นอกจากนั้นยังมีเขาตะเคียนโง๊ะ เขาหินตั้งบาตร เขาห้วยทราย และเขาอุ้มแพ ลักษณะป่าไม้ในแถบนี้เป็นป่าเต็งรังหรือป่าไม้สลัดใบ ป่าสน และป่าดิบ ที่น่าสนใจก็คือ พันธุ์ไม้ตระกูลปาล์ม ลักษณะคล้ายต้นตาล แต่ออกผลเป็นทะลายคล้ายหมาก แม้ปัจจุบันป่าจะถูกถางไปมากก็ตาม แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง
สถานที่ท่องเที่ยงบนเขาค้อ นอกจากสถานที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์แล้ว เขาค้อยังมีความสวยงามให้ชื่นชมได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะการขึ้นไปชมทะเลหมอกในฤดูหนาว ซึ่งมีที่พักหลายแห่งสามารถเห็นทะเลหมอกที่สวยงามได้ในตอนเช้า ส่วนในฤดูร้อนก็ยังมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชม เนื่องจากมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำ ทำให้มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี

ทะเลหมอกบนเขาค้อ บริเวณที่เกิดทะเลหมอกบนเขาค้อ คือบริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำรัตนัย ซึ่งอยู่ด้านล่างของถนนเส้นทางหลักสาย 2196 บริเวณใกล้ๆ กับที่ทำการอ.เขาค้อ สามารถชมทะเลหมอกได้เป็นระยะทางค่อนข้างยาวไกล ในช่วงเช้า ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ถึงเวลาประมาณ 8 โมงเช้า จุดที่นิยมไปชมกันมากที่สุด คือบริเวณศาลาชมวิวเขาค้อ, จุดบริเวณที่ตั้งของรีสอร์ทเขาค้อทะเลหมอก, พรสวรรค์รีสอร์ท,เขาค้อสวิส, รุ่งอรุณรีสอร์ท, ภูอาบหมอก, บ้านทะเลหมอก และบริเวณใกล้เคียง  เช่น ชุมสายโทรศัพท์เขาค้อ และสถานที่ราชการ ที่อยู่ติดๆกัน เช่นสถานีตำรวจภูธร อ.เขาค้อ และโรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ 
นอกจากนี้ ยังมีรีสอร์ทอีกหลายแห่ง ที่สามารถพักแรมในบ้านพัก หรือกางเต็นท์นอน เพื่อชมทะเลหมอกยามเช้า ที่หน้าบ้านกันเลย ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณจุดชมทะเลหมอกริมถนนสาย 2196 นี้ บางรีสอร์ทอาจต้องเข้าซอย หรืออยู่ต่ำลงไปอีกนิดหนึ่ง แต่ก็สามารถชมทะเลหมอกได้เช่นกัน บางวันที่มีหมอกหนาแน่น รีสอร์ทที่อยู่ต่ำ ก็จะถูกหมอกคลุม กลายเป็นส่วนหนึ่งของทะเลหมอก เป็นบ้านในสายหมอก ได้บรรยากาศไปอีกแบบ



บริเวณจุดชมวิวเขาค้อทะเลหมอ
จุดกางเต็นท์
สามารถกางเต็นท์ในรีสอร์ทเกือบทุกแห่ง ซึ่งจะเสียค่าบริการรายหัว ประมาณ 100-250 บาท แล้วแต่รีสอร์ท เป็นค่าที่พักรวมกับอาหารเช้า และบริการเสริมอื่นๆของรีสอร์ท แต่หากต้องการกางเต็นท์ในพื้นที่ราชการบริเวณนี้ ก็สามารถกางเต็นท์ได้ที่ ชุมสายโทรศัพท์เขาค้อ บริเวณติดกัน รวมถึงสถานที่ราชการอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งส่วนใหญ่เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้ามากางเต็นท์พักแรม ในช่วงเทศกาล หรือหากไม่ต้องการพักแรมเบียดเสียดกัน ก็หาที่พักที่ไกลออกไปสักนิด แล้วค่อยขึ้นมาชมทะเลหมอกยามเช้า ก็สะดวกดี

อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา


อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา มีพื้นที่ครอบคลุมสองจังหวัด คือ ในเขตอำเภอแกลง จังหวัดระยอง และอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 83 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 52,300 ไร่ ภูมิประเทศทั่วไปเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มียอดเขาแผนที่เป็นยอดเขาสูงสุด คือสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,028 เมตร
พื้นที่ ผืนป่าเขาชะเมา-เขาวง จัดว่าเป็นผืนป่าที่ยังคงความสมบูรณ์ของระยอง เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสำคัญหลายสาย หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ แม่น้ำประแสร์ ซึ่งเปรียบเสมือนสายโลหิตใหญ่สายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนระยองทั้งหมดงทั้งหมด
นอกจาก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารสำคัญหลายสายแล้ว เขาชะเมา-เขาวงยังอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้มีค่าหลายชนิด เช่น ชิงชัน ประดู่ ตะเคียน ยาง อันส่งผลให้ใจกลางของป่าดิบชื้นแห่งนี้เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด อาทิ เสือ ช้าง กระทิง วัวแดง เลียงผา หมี หมูป่า และนกชนิดต่างๆ สัตว์ป่าเหล่านี้อาศัยในโซนป่าลึกที่ต้องใช้เวลาเดินป่าเข้าไปหลาย
วัน


การเดินทาง :
ทางสายชลบุรี แกลง เป็นเส้นทางที่ตัดตรงที่สุด เมื่อมาถึง อำเภอแกลง ให้เลยต่อไปอีกไม่ไกลนักก็จะถึงตลาดบ้านเขาดิน จากนั้นก็จะมีทางแยกซ้ายมือที่ตลาดบ้านเขาดิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3377) เข้าไปยังที่ทำการอุทยานอีกประมาณ 17 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด จัดได้ว่าเป็นเส้นทางที่ค่อนข้างสะดวกสบายเส้นทางหนึ่งในการเข้าไปสัมผัสธรรมชาติในรูปแบบป่าเขาและน้ำตก


สิ่งอำนวยความสะดวก :
ด้วยระยะทาง ที่ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯและการเดินทางค่อนข้างสะดวกสบาย ทำให้ในช่วงวันสุดสัปดาห์ต่างๆจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันหยุดติดต่อกันในช่วงเทศกาลต่างๆ ทำให้ที่พักที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการบริการ
ส่วนกรณีตั้งแคมป์เองนั้นไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องจากทางอุทยานฯได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับกางเต้นท์มากพอที่จะรองรับนักท่องเที่ยวปริมาณมากๆได้สบาย
ในส่วนของบ้านพักนั้น มีอยู่ 6-10 หลัง หลังหนึ่งพักได้ประมาณ 6-8 คน อัตราค่าที่พักประมาณ 500-1,000 บาทต่อคืน มีค่ายพักแรมหนึ่งค่าย พักได้ประมาณ 80
รายละเอียดเรื่องที่พักติดต่อสอบถามรายละเอียด และจองได้ที่ กองอุทยานแห่งชาติ โทร. 579-7223, 579-5734


จุดเด่นที่น่าสนใจ :
แหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่อุทยานฯแบ่งออกเป็นสองลักษณะใหญ่ๆคือ
การเดินป่า ขึ้นไปเที่ยวยังพื้นที่ด้านบน และ การเดินเที่ยว บริเวณน้ำตกเขาชะเมาหรือน้ำตกธารน้ำใส ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ทำการอุทยานฯ
ทางเดินขึ้นน้ำตกเขาชะเมา หรือน้ำตกธารน้ำใสสะดวกสบาย เพราะทางอุทยานฯได้ทำสะพานไม้ให้เป็นทางเดิน ธารน้ำตกเขาชะเมาแม้จะมีระยะทางยาวถึง 3 กิโลเมตร แต่น้ำตกแต่ละชั้นก็เป็นน้ำตกชั้นเล็กๆ โดยทางอุทยานฯตั้งชื่อไว้เป็นวังต่างๆ วังที่น่าสนใจและเดินไม่ไกลนักก็คือ วังมัจฉา เป็นที่อาศัยของฝูงปลาพลวง ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มานานแล้ว
เลยจากวังมัจฉาไป ก็จะมีวังมรกต ซึ่งหากเดินต่อจากวังมรกตไปประมาณ 900 เมตร ก็จะถึงผาสวรรค์ เป็นเส้นทางที่ต้องผ่านป่าดิบที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของเขาชะเมา จัดว่าเป็นเส้นทางเดินป่าที่น่าสนใจเส้นทางหนึ่ง
ในวันที่อากาศแจ่มใส บนจุดชมวิวผาสวรรค์ มองเห็นไกลถึงเขาแหลมหญ้า หมู่เกาะเสม็ดเลยทีเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงฤดูฝนที่ฝนทิ้งช่วง ท้องฟ้าจะแจ่มใสมากกว่าฤดูอื่น
นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำตกที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งคือ น้ำตกคลองปลาก้าง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำตกแห่งนี้จัดว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดของอุทยานฯ เพราะธรรมชาติยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
น้ำตกเขาชะเมา(น้ำตกคลองน้ำใส)
แยกจากถนนสุขุมวิทที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 274 เข้าไปประมาณ 17 กิโลเมตร ลักษณะน้ำตกเป็นธารน้ำใสรองรับน้ำตกขนาดใหญ่ยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ประกอบด้วยน้ำตกที่สวยงาม 8 ชั้น ได้แก่ วังมัจฉา วังมรกต ผากล้วยไม้ น้ำตกหกสาย และผาสูง เป็นต้น ในชั้นวังมัจฉามีปลา พลวง ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่อาศัยอยู่ชุกชุ
ผาสวรรค์
จากที่ทำการไปประมาณ 1,500 เมตร ซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ได้กว้างไกลระหว่างเดินทางสามารถพบเห็นธรรมชาติที่สวยงาม และพันธุ์ไม้นานาชนิด เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าทางธรรมชาติ
น้ำตกคลองปลาก้าง
อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำตกมีหลายชั้น ตลอดทางเป็นป่ามีพันธุ์ไม้จำพวกเฟิร์นและกล้วยไม้ขึ้นอยู่ทั่วไป
น้ำตกคลองหินเพลิง
ตั้งอยู่ทางด้านจังหวัดจันทบุรี ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีน้ำไหลตลอดปี สภาพป่ายังสมบูรณ์ ตลอดสองข้างทางของน้ำตกมีดงว่านและดอกไม้ที่แปลกตา มีสัตว์ป่าที่อาจพบเห็นได้
ศาลสมเด็จกรมหลวงชุมพรฯ
อยู่ตรงข้ามกับทางแยกเข้าอุทยานแห่งชาติเขาชะเมาเขา-วง เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 10 กิโลเมตร หรือจะเข้าทางถนนที่เข้าสู่ปากน้ำประแสร์ อีกทางหนึ่งก็ได้ภายในศาลประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรฯ พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองระยอง

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำ ตกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศด้วยอาณาเขตอันกว้างขวาง ประกอบไปด้วยภูเขาสูง หน้าผา น้ำตกเอราวัณ และน้ำตกอื่น ๆ ถ้ำ และทิวทัศน์ที่งดงามตามธรรม ชาติ ทั้งการคมนาคมที่สะดวก จึงทำให้อุทยานฯ เอราวัณ เป็นที่นิยมของ นักท่องเที่ยวเป็นอันมาก โดยมีเนื้อที่ประมาณ 550 ตารางกิโลเมตร หรือ 343,750 ไร่


ประวัติความเป็นมา
   สมัย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุมเมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ให้กระ ทรวงเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้ง ป่าเทือกเขาสลอบ ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัด ต่าง ๆ รวม 14 ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไป ดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 - 2515 โดยใช้บริเวณ น้ำตกเอราวัณ เป็นศูนย์กลางการสำรวจ พบว่าบริเวณป่าเทือกเขาสลอบ จัง หวัดกาญจนบุรี มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษและมีทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ ตามรายงานผลการสำรวจอุทยานแห่งชาติเขาสลอบ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2516 ของนายวิจารณ์ สาระนาค นักวิชาการป่าไม้โท แต่ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนด เขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอวังขนาย อำเภอบ้านทวน และอำเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2481 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและ กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาดัง กล่าว กรมป่าไม้จึงรายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งให้กระ ทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือ ที่ กษ 0705/20251 และ 20252 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ขอเพิกถอนพื้นที่เขตหวง ห้ามที่ดินบางส่วนที่เป็นป่าเทือกเขาสลอบ เพื่อเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 6/2517 เมื่อ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2517 เห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ได้ และให้ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตามความนิยมและคุ้นเคย ของประชาชนที่รู้จัก น้ำตกเอราวัณ เป็นอย่างดี กระทรวงกลาโหมแจ้งไม่ขัด ข้อง ตามหนังสือกระทรวงกลาโหม ที่ กห.0318/23505 ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2517 และกระทรวงมหาดไทยไม่ขัดข้อง กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการ ขอเพิกถอนที่ดินหวงห้ามบริเวณดังกล่าว โดยมีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอน ที่ดินหวงห้ามดังกล่าวลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2518 และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาสลอบ ใน ท้องที่ตำบลไทรโยค ตำบลท่าเสา ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค ตำบลหนอง เป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จัง หวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 114 ลงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2518 นับ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 11 ของประเทศ
จุดเด่นที่น่าสนใจ
     น้ำตกเอราวัณ เป็นลักษณะน้ำตกที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกันซึ่งแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ได้ 7 ชั้นด้วยกัน แต่ละ ชั้นมีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยว ทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่าหลายชนิดบนคาคบไม้ สายธาร น้ำที่ไหลตกลดหลั้นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสี่ยงสาดซ่า คลอเคล้าด้วยส่งเสียงเรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติ สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมีคุณค่าของป่า เขาลำเนาไพรซึบซับเข้าสู่อารมณ์ผู้ใฝ่หาความสันโดษ และรักธรรม ชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชึ้นบนสุดของน้ำตก เมื่อมีน้ำตก ไหลบ่าจะมีรูปคล้ายหัวช้างเอราวัณ จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า น้ำตกเอราวัณ
น้ำตกผาลั่น เป็นน้ำตกชั้นเดียวจะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น
ถ้ำพระธาตุ เป็นถ้ำมืดที่สวยงาม มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 790 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน แห่งชาติประมาณ 12 กิโลเมตร


ลักษณะภูมิประเทศ
 อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันอยู่ สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 165 - 996 เมตร สลับกับพื้นที่ราบโดย ภูเขาส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูน (Lime Stone) ในแถบตะวัน ออกของพื้นที่จะยกตัวสูงขึ้นเป็นแนว โดยเฉพาะบริเวณใกล้น้ำ ตกเอราวัณจะมีลักษณะเป็นหน้าผา ในพื้นที่ซีกตะวันออกนี้จะมี ลำห้วยที่สำคัญคือ ห้วยม่องไล่ และห้วยอมตะลา ซึ่งไหลมาบรร จบกันกลายมาเป็น น้ำตกเอราวัณ ทางตอนเหนือของพื้นที่จะพบ ห้วยสะแดะและห้วยหนองมน โดยห้วยสะแดะจะระบายน้ำลงสู่ เขื่อนศรีนครินทร์ ส่วนห้วยหนองมนจะไหลไปรวมกับห้วยไทร โยค ก่อให้เกิดน้ำตกไทรโยคส่วนทางทิศใต้เป็นต้นกำเนิดของลำ ห้วยหลายสาย เช่น ลำห้วยเขาพัง เป็นต้น ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวย งาม ซึ่งเรียกว่า น้ำตกเขาพัง หรือน้ำตกไทรโยคน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาค
2. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
3. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
แต่ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือช่วยพัดพาให้เกิดฝน แต่เนื่องจาก พื้นที่อยู่ในเขตเงาฝน จึงมีปริมาณฝนตกไม่มากนัก และอากาศค่อน ข้างร้อน จากลักษณะอากาศดังกล่าว จึงไม่เป็นปัญหาต่อการเที่ยวชม อุทยานแห่งชาติเอราวัณ สามารถไปเที่ยวได้ทุกฤดู
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
          สภาพป่าที่น้ำตกเอราวัณ ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่ สำคัญ ได้แก่ มะค่าโมงตะเคียนทอง ประดู่ กว้าว มะกอก ตะแบก ฯลฯ นอกนั้นเป็นป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ คือ เต็ง รัง เหียง พลวงพยอม มะค่า แต้ เป็นต้น
สัตว์ป่าประกอบด้วยสัตว์นานาชนิด ได้แก่ นกแว่น นกกระแต แต้เว๊ด ไก่ฟ้าพญาลอ นกกระปูด นกกางเขนดง นกสาริกา นกขุนทอง ชะนี กวาง อีเก้ง ไก่ป่า หมูป่า กระต่ายป่า กระรอกบิน เสือ เป็นต้น
การเดินทาง
การเดินทางไป น้ำตกเอราวัณ สามารถใช้เส้นทางได้ 2 ทาง คือ
1. เริ่มต้นจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมาย เลข 323 ถึงเขตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเขื่อนศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการ อุทยานฯ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 66 กิโลเมตร ถึง น้ำตกเอราวัณ
2. ถ้าเดินทางมาจากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณ บ้านวังใหญ่อยู่ตอนใต้ของน้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ 6 กิโลเมตร ลัด ออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อนท่าทุ่งนาระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 323 อีกประมาณ 30 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยาน 



ทางเดินไปน้ำตกทางเดินไปน้ำตกน้ำตกชั้นที่ 1
ไหลคืนรัง
น้ำตกชั้นที่ 1
ไหลคืนรัง
น้ำตกชั้นที่ 2
วังมัจฉา
น้ำตกชั้นที่ 2
วังมัจฉา
สะพานไปชั้นที่ 3น้ำตกชั้นที่ 3
ผาน้ำตก
บันไดไปชั้นที่ 4น้ำตกชั้นที่ 4
อกนางผีเสื้อ
น้ำตกชั้นที่ 5
เบื่อไม่ลง
น้ำตกชั้นที่ 6
ดงพฤกษา
น้ำตกชั้นที่ 7
ภูผาเอราวัณ
คุณคือผู้พิชิตน้ำตกชั้นที่ 7
ภูผาเอราวัณ




แหล่งท่องเที่ยวของไทย


  
        ปราสาทหินพิมาย
       ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทที่มีความใหญ่โตและมีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งยังเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยอีกด้วย ตัวปราสาทอยู่ใกล้กับแม่น้ำมูล
      ปราสาทหินพิมายชนชาติขอมในสมัยโบราณได้สร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 16 - 17 ซึ่งตรงกับรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ต่อมาพระเจ้าสุริยวรมันที่ 6 และที่ 7 ได้สร้างต่อเพิ่มเติม
      ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นไว้เนื่องในศาสนาพุทธลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ทั้งสามนิกาย เพื่อเป็นพุทธศาสนสถานและเทวสถานของมหาชนทั้งชาวพุทธแลพราหมณ์ ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัตในประเทศกัมพูชาและก่อนปราสาทหินพนมรุ้ง จัดเป็นโบราณสถานที่มีความสวยงามทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม และ
เป็นต้นแบบของปราสาททุกแห่งในภาคพื้นเอเชีย ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของคนในสมัยนั้นอีกด้วย
      รูปแบบของปราสาทหินพิมาย ประกอบด้วยกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมด้วยรอบสร้างด้วยหินทรายแดง มีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ประตูใหญ่อยู่ทางทิศใต้ (หน้าปราสาทหันไปทางทิศใต้) ซึ่งตรงกับประตูเมืองคือ ประตูชัย ตัวปราสาทมี 3 องค์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานหรือปราสาทหลังกลาง มีปรางค์อีก 2 องค์ เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง (ชาวบ้านเรียกปรางค์นาอรพิน) หลังปราสาทหินแดงเป็นหอพราหมณ์ ทั้งหมดนี้มีระเบียงคตล้อมรอบ ด้านตะวันตกมีบรรณาลัยอยู่ด้านหลังมีกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมรอบ และมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ เป็นคูหาติดต่อถึงกันตลอด ด้านเหนือและด้านใต้กว้าง 220 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาว 277.50 เมตร ถัดจากกำแพงจะเป็นลานกว้างใหญ่ มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุมของตัวปราสาท และจากบริเวณลานเข้าไปถึงระเบียงคต(กำแพงชั้นใน) มีทางกว้าง 2.35 เมตร ทะลุถึงกันทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน
       บริเวณชั้นในของตัวปราสาท (ปรางค์ 3 หลัง อาคารอีก 3 หลัง) มีลานทางด้านเหนือและด้านใต้กว้าง 58 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาว 66 เมตร
       รายละเอียดโบราณสถานภายในตัวปราสาทหินพิมายมีดังนี้
            ปรางค์ประธาน เป็นสถาปัตยกรรมหลักและเป็นศูนย์กลางของศาสนาสถานแห่งนี้ สร้างด้วยหินทรายขาว หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง 28 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 22 เมตร มีมุข 3 ด้าน คือ ทางทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนยอดปรางค์หรือหลังคาทำเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป เรียกว่าชั้นเชิงบาตร รวม 5 ชั้น ประดับด้วยกลีบขนุนปรางค์และประติมากรรมหินทรายเป็นรูปสัตว์และเทพต่าง ๆ ยอดบนสุดสลักเป็นรูปดอกบัว
            หอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายและมีศิลาแลงแซมบางส่วน อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธานทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมหินผ้าขนาด 6.50 X 17 เมตร มีมุกขื่นออกไปเป็นบันได้และประตูเข้า - ออก ภายในอาคารพบศิวลึงค์หินทราย จึงเชื่อว่าคงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นเหตุ เรียกว่า หอพราหมณ์
            ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับหอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายสีแดง ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไป 4 ทิศ ที่มุขแต่ละด้าน มี 1 ประตู จากการขุดแต่งพบว่าแท่งหินที่ใช้ต่อฐานบางท่อนมีลวดลายสลัก แต่วางกลับข้างจากบนลงล่าง แสดงว่าคงรื้อเอาวัสดุเก่ามาใช้ในการก่อสร้างและคงสร้างพรอ้มกับหอพราหมณ์เนื่องจากอยู่บนฐานเดียวกัน
            ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่แนวเดียวกันกับปรางค์หินแดง สร้างด้วยศิลาแลงฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 14.50 เมตร สูง 16 เมตร ภายในพบประติมากรรมหินทรายรูปบุคคล 2 รูป รูปหนึ่งเป็นบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระเจ้าขัยวรมันที่ 7 ซึ่งเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต อีกรูปหนึ่งเป็นสตรีนั่งคุกเข่า ศรีษะ และแขนขาด ไปเหลือแต่ลำตัว เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางราชเทวีมเหสีของพระเข้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกกันว่า นางอรพิมพ์
            ฐานอาคาร ตั้งอยู่ระหว่างซุ้มประตูกำแพงชั้นในด้านทิศตะวันออกกับปรางค์ประธาน มีลักษณะคล้ายฐานปรางค์ สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 8.15 เมตร สูง 70 เมตร
           ธรรมศาลา ก่อนจะเข้าสู่บริเวณภายในกำแพงปราสาทหินพิมาย มีอาคารหลังหนึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือหันหน้าเข้าสู่ถนน เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 26 x 35.10 เมตร สร้างด้วยหินทราย มีบันไดและประตูเข้าสู่อาคารทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกข้าง ๆ ประตูจริงเป็นประตูหลอกด้านละ 1 ประตู มีการกั้นแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยทุกห้องมีประตูทะลุถึงกันอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงยามเสด็จมาประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งเป็นที่พักจัดขบวนปัจจัย ของถวายต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธี
           สะพานนาคราช เป็นสะพานสร้างด้วยหินทรายตั้งอยู่ตรงหน้าซุ้มประตูกำแพงชั้นนอกเป็นรูปกากบาทขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 3170 เมตร ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร มีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน เชิงบันไดทำเป็นอัฒจันทร์ รูปปีกกา ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวของนาคราชชูคอแผ่พังพางมี 7 เศียรที่เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปสิงห์ทำด้วยหินทราย เสาและขอบสะพานสลักลวดลายงดงาม
           กำแพงชั้นนอกและซุ้มประตู
              กำแพงชั้นนอก สร้างด้วยหินทราย มีศิลาแลงแทรกเป็นบางส่วนขนาดประมาณ 220 X 277.50 เมตรมีประตูหลอกทำเลียนแบบบานประตูไว้ 2 บาน กำแพงชั้นนอกด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดคือยังมีความสูงเหลืออีก 8 เมตร
               ซุ้มประตู ที่กึ่งกลางกำแพงชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน เป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกกันว่า โคปุระ สร้างดินหินทรายผังโดยรวมของประตูซุ้มมีลักษณะเป็นรูปกากบาท มีประตูผ่านเข้าได้ 3 ทาง คือ ประตูกลางผ่านทางห้องมุขและประตูข้างทางห้องริมสุด 2 ข้าง
               ทางเดินเข้าสู่ปราสาท เป็นทางเดินที่สร้างดินหินทรายสูงขึ้นมาประมาณ 1 เมตร มีบันไดลงจากทางเดินสู่พื้นล่างที่มุมทั้งสี่ และทั้งสองข้างของช่องกลางตลอดแนว ทางเดินที่เชื่อมตัดกันมีหลุมเสาตั้งเรียงกันอยู่เป็นระยะ ๆ จาการขุดแต่งบริเวณนี้ใน พ.ศ.2530 ได้พบเศษกระเบื้องและบภลีดินเผาเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานได้ว่ายกพื้นทางเดินทั้งหมดนี้มีลักษณะเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผารองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว
               บรรณาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกซีกตะวันตก ระหว่างประตูซุ้มกำแพงชั้นในและชั้นนอก เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 25.50 X 26.50 เมตร จำนวน 2 หลัง อาคาร 2 หลังนี้จัดเป็นอาคารใหญ่ ไม่มีหลักฐานให้ทราบชัดถึงประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง เรียกต่อ ๆ กันมาว่า บรรณาลัย ซึ่งหมายถึง สถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่าง ๆ ทางศาสนาเทียบกับวัดของเราในปัจจุบันก็คงจะเทียบได้กับ “หอไตร” นั่นเอง แต่เมื่อพิจารณาสภาพภายในอาคารแล้วชวนให้สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น อาจเป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน อันเป็นศาสนาหลักของศาสนาสถานแห่งนี้ หรืออาจเป็นที่พักกระบวนเสด็จของกษัตริย์หรือเจ้านายก็เป็นได้
               สระน้ำ ตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของลานชั้นนอก มีขนาดไม่เท่ากันและตำแหน่งที่ตั้งก็ไม่อยู่ในแนวตรงกัน นอกจากนี้ที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของวัดต่าง ๆ ซึ่งได้ย้ายออกไปสร้างใหม่ข้างนอกปราสาทแล้ว รวมทั้งสิ้น 4 วัด คือวัดสระหิน วัดพระปรางค์ใหญ่ วัดโบสถ์ (ซึ่งมีพระอุโบสถ เรียกกันว่า โบสถ์เจ้าพิมาย) และวัดพระปรางค์น้อย จากการที่เรียกชื่ออุโบสถว่า โบสถ์เจ้าพิมาย ประกอบกับได้พบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย เมือครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธมาสะสมกำลังตั้งตัวเป็นใหญ่คราวเสียกรุงครั้งที่สอง เรียกว่า ก๊กเจ้าพิมาย สระน้ำทั้งหลายจึงคงเป็นสระน้ำที่วัดเหล่านั้นขุดขึ้นมาใช้ประจำวัดนั่นเอง
           กำแพงชั้นในและซุ้มประตู
               กำแพงชั้นใน สร้างด้วยหินทรายเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน กว้าง 2.35 เมตร ยาวจากเหนือ - ใต้ 72 เมตร จากตะวันออก - ตะวันตก 80 เมตร อยู่สูงจากพื้นดิน 1 เมตร ภายในเดินทะลุถึงกันได้ ส่วนผนังด้านนอกปิดทึบ ทำเป็นหน้าต่างหลอดประดับด้วยลูกมะหวด
               ซุ้มประตูของกำแพงชั้นใน สร้างด้วยหินทรายเช่นกัน มี 4 ประตู ลักษณะคล้ายซุ้มประตูกำแพงชั้นนอก แต่เล็กกว่ามีจารึกบนกรอบประตูด้วยอักษรของโบราณกล่าวถึงชื่อ “กมรเตงชคตวิมาย” และการสร้างรูปเคารพชื่อ “กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย”ใน พ.ศ.1651 ทับหลังของซุ้มประตูส่วนใหญ่พังทลายลง ปัจจุบันได้นำบางส่วนเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายส่วนที่เหลือได้นำไปติดตั้งที่โบราณสถานแล้ว ภาพสลักทับหลังดังกล่าวเป็นศิลปะแบบปาปวนนครวัด
            เมรุพรหมทัต ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมายเป็นซากเนินเจดีย์ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ สาเหตุที่เรียกชื่อว่าเมรุพรหมทัตนั้นคงเป็นเรื่องเชื่อมโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่องนางอรพิมพ์กับท้าวปาจิต ซึ่งเล่ากันว่าสถานที่นี้ คือที่ถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัต
       ปราสาทหินพิมายมีลักษณะเด่นและสำคัญคือ เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่โต ได้รับการบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ 2507 และเสร็จเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ตามหลักวิชาบูรณะแบบ อนัสติโลซิส ลวดลายจำหลักมีคุณค่าสูงส่งทางศิลปะ
       ได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พิมายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน